Categories > Games > Advance Wars

อะไรคือสาเหตุของ โรคนอนกรน

by mapniece3 0 reviews

อะไรคือสาเหตุของ นอนกรนการปิดกั้นของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจ อันเนื...

Category: Advance Wars - Rating: PG - Genres: Drama - Warnings: [Y] - Published: 2016-09-23 - 111 words

0Unrated
อะไรคือสาเหตุของ นอนกรน
การปิดกั้นของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากการที่กล้ามเนื้อในช่องทางเดินหายใจมีการหย่อนตัวลง เช่น ช่องลำคอ โคนลิ้น หรือ บางส่วนของกล่องเสียง หรืออาจเกิดจากสารหล่อลื่นในช่องทางเดินหายใจน้อยลง ทำให้เกิดการบวม ช่องคอจึงตีบตัน เมื่อมีอากาศไหลผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิด ภาวะนอนกรน (Snoring) ขึ้น
อาการตีบตันของเนื้อเยื่อบริเวณช่องคอนี้ บางครั้งก็เกิดขึ้นไม่มาก หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้อย่างรุนแรงจนอุดตันลมหายใจของเราทั้งหมด ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ในช่วงหนึ่ง ซึ่งเราเรียกลักษณะดังกล่าวว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) หรือที่นิยมเรียกง่ายๆ ในปัจจุบันว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีผลร้ายแรงต่อร่างกายได้อย่างมากมาย เช่น เป็นสาเหตุและความเสี่ยงของ โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปรกติ หรือ ทำให้เกิดความรำคาญ ต่อผู้นอนร่วมห้อง เกิดเป็นปัญหาทางครอบครัว หรือสังคม ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกอาย และเสียบุคลิกภาพได้
นอกจากนี้ คือเรื่องโรคนอนกรนในเด็ก ก็อาจส่งผลให้การพัฒนาการของเด็กมีปัญหา ทั้งทางด้านสุขภาพและสมอง เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวซุกซน ปัสสาวะรดที่นอน มีผลการเรียนแย่ลง หรือเด็กอาจมีปัญหาในการอยู่ร่วมในสังคมได้ อาการหยุดหายใจตอนหลับนี้ คาดว่าพบปัญหานี้ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และอาจพบมากกว่านี้ในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กเจอประมาณร้อยละ 1
อะไรบ้างที่เป็นอาการบ่งบอกถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
หากท่านสังเกตุเห็นว่ามีอาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนภัย ว่าท่านเป็นโรคนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งมีผลร้ายกับสุขภาพอย่างมาก

ตอนเช้าตื่นมาไม่สดชื่น
ตื่นนอนแล้วปวดศีรษะ
มีปัญหานอนกรนเสียงดัง จนผู้อื่นรำคาญ
นอนมากแต่เหมือนนอนไม่พอ
หลับในตอนกลางวัน หงุดหงิดง่าย อารมณ์บึ้งตึง
ตอนนอนรู้สึกหายใจไม่ค่อยสะดวก
มีผู้อื่นสังเกตเห็นว่าหายใจไม่สม่ำเสมอ และกรนๆ หยุดๆ ระหว่างนอนหลับ
มีโรคประจำตัวอย่างอื่นด้วย เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ

ส่วนในเด็กนั้น อาจมี โรคนอนกรน คล้ายผู้มีอายุได้ หรือนอนหลับไม่ค่อยสนิท หายใจติดขัด หายใจทางปากอยู่เสมอ เนื่องจากคัดจมูก อาจมีปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ ก้าวร้าวซุกซน ผลการเรียนตกต่ำลง พัฒนาการของร่างกายช้า เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคนอนกรนมีขั้นตอนอะไรบ้าง
หากท่านนอนกรนเป็นประจำ หรือสงสัยว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรมาพบแพทย์ด้านการนอนหลับ หรือแพทย์หู คอ จมูก ถ้าเป็นไปได้ควรมาพร้อมสามีหรือภรรยา หรือผู้ที่สังเกตเห็นอาการ โดยมีขั้นตอนการวินิจฉัยดังนี้

ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรทำแบบซักถามประวัติเกี่ยวกับสุขภาพและการนอน (Medical and sleep history) และพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ซักถามอาการเพิ่มเติม ในส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
รับการตรวจร่างกาย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักตัว ตรวจความดันโลหิตและตรวจวัดชีพจร วัดขนาดรอบคอ หรือรอบเอว หลังจากนั้น แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมบริเวณ ศีรษะ คอ จมูก ช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อดูลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น\ดูลักษณะของทางเดินหายใจ และอาจทำการตรวจร่างการโดยทั่วไปด้วย เช่น หัวใจ ปอด และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บางครั้ง แพทย์อาจส่องกล้อง (Endoscopy) เพื่อตรวจช่องจมูกและลำคอ ที่แผนกหู คอ จมูก และส่งไปทำ x-ray ศีรษะและลำคอเพิ่มเติม และอาจรวมถึง การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด และอื่นๆ ตามความจำเป็น
โดยส่วนมาก ควรทำการ ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) หรือเรียกว่า Polysomnography ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นการตรวจ คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) คลื่นไฟฟ้าการเคลื่อนไหวลูกตา (EOG) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การวัดระดับการหายใจผ่านทางจมูก คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณคางและขา (EMG) การวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด (SpO2) และการวัดการเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง

ซึ่งการตรวจการนอนหลับ สามารถตรวจในห้องโรงพยาบาลได้ หรือตรวจด้วยเครื่องตรวจแบบเคลื่อนที่ได้ (mobile test) โดยอาจมีเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งเครื่องตรวจให้ในห้องตรวจพิเศษ หรือที่บ้าน ซึ่งทำให้ผู้ตรวจรู้สึกสบาย และสามารถหลับได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างไรก็ดี เนื่องจากการตรวจมีหลายวิธี และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงควรปรึกษากับแพทย์ด้านการนอนหลับว่า การตรวจแบบใดเป็นการตรวจที่เหมาะสมกับแต่ละราย
ตรวจนอนกรนที่ไหนดี?
เป็นคำถามที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ อีกคำถามที่ตามมาด้วยเสมอคือ หลังจากตรวจแล้วควรรักษานอนกรนด้วยวิธีใด มาถึงตอนนี้หลายท่านคงเริ่มรู้สึกสับสนแล้ว ซึ่งอาจได้ทั้งจากการที่มีข้อมูลมากเกิน หรือไม่มีข้อมูลเลย การรักษานอนกรนนั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ควรเริ่มด้วยการไปปรึกษา กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนกรนโดยเฉพาะ และควรตรวจการนอนหลับก่อนครับ ส่วนเรื่องจะไปตรวจที่ไหนนั้น ทางผู้เขียนได้รวบรวมรายชื่อมาให้แล้ว หวังว่าสถานที่ต่อไปนี้น่าจะเป็นที่เลือกให้สำหรับท่านครับ
1) โรงพยาบาลเอกชน (ข้าราชการไม่สามารถเบิกได้)
รพ.กรุงเทพ ซ.ศูนย์วิจัย ถ. เพชรบุรี โทร. 02-310-3010, 02-310-3000 ต่อแผนก หู คอ จมูก
- ทุกวันอาทิตย์ 10.00 - 13.00 น.
พี.เอ็ช.ซี. สหคลินิก (PHC Clinic)
61/19 ถ.พระราม 9 ซอย 7 (อ.ส.ม.ท.) เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
Tel: 095-950-7956 หรือ 061-659-1788
รพ. ธนบุรี
- ทุกวันศุกร์ 17.00-19.00 น.
รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โทร. 1474
- ทุกวันอังคาร 14.00 - 15.00 น.
รพ.ตา หู คอ จมูก แผนกหูคอจมูก โทร. 02-886-6600-16
รพ.เทพธารินทร์ คลินิคการนอนหลับ โทร. 0-2348-7000 ต่อ 3123, 3109
2) โรงพยาบาลรัฐบาล (ใช้สิทธิ์เบิกของข้าราชการได้ทั้งค่าตรวจและเครื่อง CPAP)
ราคาค่าตรวจมักจะไม่แพงเท่าของเอกชน แต่คิวตรวจนานมาก ครับ ตัวอย่าง รพ. รัฐบาลที่ให้บริการตรวจการนอนหลับและเครื่อง CPAP มีดังนี้
รพ.จุฬาลงกรณ์
คลินิกในเวลาราชการ (ท่านต้องมาด้วยตนเอง ไม่สามารถโทรนัดได้)
- วันจันทร์ - อังคาร (13.00-16.00) ศูนย์นิทราเวช ชั้น 5 อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- วันพุธ (13:00 - 15:00) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
คลินิกนอกเวลาราชการ (โทรนัดพบแพทย์ในคลินิกนอกเวลาได้ที่หมายเลข 02-256-5166, 02-256-5175)
- วันพุธ (16:30 - 19:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
- วันเสาร์ (8:30 - 11:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
รพ. รามาธิบดี
- ศูนย์โรคการนอนหลับโรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้น 7 ward 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3768
3) ตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test
การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) หรือการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ (Out-of-center Sleep Testing; OCST) หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า การตรวจการนอนหลับแบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable monitoring of sleep; PMs) นั้นมีความหมายเทียบได้กับ การตรวจการนอนหลับโดยไม่มีคนเฝ้า (unattended sleep study) หรือ การตรวจการนอนหลับ Level 2-4 ตามที่กำหนดโดยสมาคมแพทย์โรคจากการหลับของสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถเบิกค่าตรวจด้วยวิธีนี้ได้ ทำให้ในบัจจุบันการตรวจแบบนี้มีแนวโน้ม เป็นที่ต้องการขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วยการตรวจด้วยวิธีนี้จะมีราคาถูกกว่าการตรวจในโรงพยาบาล อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยนอนกรนและสงสัยว่ามีหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าถึงการตรวจได้มากขึ้น
การตรวจการนอนหลับที่บ้านนั้น ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
3.1) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 2 (Level 2)
เป็นการตรวจวัดแบบมาตรฐาน (Full Polysomnography) คือสามารถตรวจวัดคลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง (EEG) ขณะที่นอนหลับได้ เครื่องมีขนาดเล็ก กระทัดรัด พกพาได้ ไม่จำเป็นต้องเข้านอนทันที เช่น เดินเข้าห้องน้ำ อ่านหนังสือ โดยไม่ต้องถอดอุปกรณ์ใดๆ โดยผลการตรวจสัญญาณการนอนหลับของท่าน จะถูกวิเคราะห์ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ (Sleep Doctor) การตรวจแบบนี้มีราคาถูกกว่าการตรวจในโรงพยาบาล และผู้ป่วยมักนอนหลับได้ดีกว่า เพราะได้หลับในสภาพแวดล้อมที่ตัวเองคุ้นเคย ทำให้ผลการตรวจที่ได้มีความใกล้เคียงกับสภาพการนอนปกติของท่านมากที่สุด
Sleep test ระดับ 2 นั้น เป้นการตรวจที่วัดสัญญาณการนอนมากกว่า 7 สัญญานขึ้นไป คล้ายกับการตรวจการนอนหลับที่ทำในโรงพยาบาลหรือศูนย์การนอนหลับ โดยในช่วงหัวค่ำ จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดอุปกรณ์เครื่องมือวัดสัญญาณถึงที่พักของท่าน และมาถอดเครื่องวัดเพื่อนำไปดาวน์โหลดข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระหว่างคืน การตรวจแบบนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรือ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมากแต่ไม่สามารถรับการตรวจในโรงพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจมีอันตราย จากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ระหว่างที่รอรับการตรวจ ซึ่งโรงพยาบาลมีบริการไม่เพียงพอ และคิวตรวจค่อนข้างยาว
การตรวจชนิดนี้ มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าการตรวจในโรงพยาบาล คือ ท่านจะได้นอนในบ้านของตนเอง จึงมีความรู้สึกผ่อนคลายและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า อย่างไรก็ดี ก็มีโอกาสเกิดสัญญาณหลุดระหว่างการตรวจได้ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้า ซึ่งในทางปฏิบัติ อาจพบปัญหาเหล่านี้ไม่มาก เพราะการตรวจสมัยนี้ ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นกว่าสมัยก่อน และนอกจานี้ มีแพทย์ด้านการนอนกรนเป็นผู้วิเคราะห์ผลการตรวจให้
3.2) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 3 (Portable Monitoring)
หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า Respiratory Polygraphy หรือ Cardiopulmonary Monitoring ได้ โดยจะวัดสัญญาณได้ประมาณ 4-7 ช่องสัญญาณ โดยจะเน้นเฉพาะที่การวัดการหายใจ (air flow), EKG, pulse rate, SpO2 หรือพูดอีกย่างก็คือ จะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายคลึงกับการตรวจในโรงพยาบาล แต่จะไม่มีการตรวจ EEG, EOG, EMG จึงไม่ได้บอกว่าผู้ป่วยมีระดับการนอนหลับอย่างไรบ้าง ข้อดีของการตรวจแบบนี้ ก็เหมือนกับการตรวจนอกสถานที่วิธีอื่นๆ คือ ง่าย สะดวก เร็ว มีอุปกรณ์น้อยกว่า และประหยัด จึ่งทำให้ผู้ที่ได้รับการตรวจสามารถนอนหลับได้เป็นธรรมชาติมากกว่า

การตรวจระดับ 3 นี้อาจใช้เพื่อการคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมี sleep apnea โดยมีระดับความรุนแรงระดับปานกลางเป็นอย่างน้อย แต่ไม่สามารถรอคิวการตรวจในโรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ ยังอาจใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษา หลังการใช้ครื่องมือในช่องปาก หรือหลังการผ่าตัดได้ ถึงแม้ว่า การตรวจระดับ 3นี้ อาจมีผลการตรวจที่คลาดเคลือนได้
ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แต่ตรวจด้วยวิธีนี้แล้วปกติ หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหัวใจ, มีน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, หรือ โรคระบบประสาทกล้ามเนื้อ และผู้ที่มีโรคการนอนหลับผิดปกติอื่นๆ เช่น ขากระตุกตอนที่หลับ, หรือ อื่นๆ อาจจำเป็นต้องรับการตรวจแบบที่ 1 แทน นอกจากนี้ ควรให้แพทย์ด้านการนอนหลับโดยเฉพาะเป็นผู้วินิจฉัยผลให้
3.3) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 4 หรือ Level 4
เป็นการตรวจการนอนหลับขนาด 1-3 สัญญาณ โดยส่วนมาก จะประกอบไปด้วย การวัดระดับออกซิเจนในเลือด ร่วมกับการวัดลมหายใจ แต่ทั้งนี้ ข้อมูลที่ตรวจได้จะน้อยกว่าการตรวจวิธีอื่น จึงมีข้อจำกัดมากกว่า และได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ยังมีการทดสอบแบบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียต่างๆ กันไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับก่อน เพื่อพิจารณาว่า แต่ละท่านจะเหมาะกับการตรวจวิธีไหนที่สุดต่อไป
Sign up to rate and review this story