Categories > Cartoons > All Dogs Go To Heaven
เหตุใดเราถึงมี ปัญหานอนกรน
0 reviewsเหตุใดเราถึงมี เสียงกรนการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจาก...
0Unrated
เหตุใดเราถึงมี เสียงกรน
การอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากการที่เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจมีการหย่อนคล้อยลง เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อน คอ หรือในระบบทางเดินหายใจมีสารหล่อลื่นน้อยลง ทำให้เกิดอาการแห้ง และบวม ช่องคอจึงตีบตัน เมื่อมีอากาศไหลผ่านช่องทางเดินหายใจที่เกิดการตีบตัน ก็จะทำให้เกิด ปัญหานอนกรน (Snoring) ขึ้น
อาการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้นนี้ บางครั้งก็เกิดขึ้นไม่มาก หรือบางกรณีอาจเกิดขึ้นได้อย่างรุนแรงจนอุดตันลมหายใจของเราทั้งหมด ทำให้ไม่มีอากาศผ่านเข้าออกได้ในช่วงหนึ่ง ซึ่งเราเรียกลักษณะที่เกิดขึ้นว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) หรือที่นิยมเรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายได้อย่างมากมาย เช่น เป็นความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปรกติ หรือ อาจก่อให้เกิดความรำคาญอย่างมาก ต่อคู่ครอง เกิดเป็นปัญหาทางสังคม ซึ่งทำให้เสียบุคลิกภาพ
เรื่องที่สำคัญที่น่าพูดถึง คือถ้ามีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก อาจทำให้มีความผิดปรกติของพัฒนาการ ทั้งทางสมองและสุขภาพ เด็กอาจซุกซนมากผิดปกติหรือก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน ผลการเรียนลดลง หรือเด็กอาจมีปัญหาในการอยู่ร่วมในสังคมได้ อาการหยุดหายใจตอนหลับนี้ ประมาณการว่าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และเชื่อว่าพบได้มากกว่านี้ในผู้สูงอายุ ส่วนอาการนี้มักพบในเด็กประมาณร้อยละ 1
อะไรคืออาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
หากท่านมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการบ่งบอก ว่าท่านมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีก่อให้เกิดผลร้ายกับสุขภาพอย่างมาก
ไม่สดชื่นตอนตื่นนอนตอนเช้า
ตื่นนอนแล้วปวดศีรษะ
กรนเสียงดังอยู่เสมอ ก่อให้เกิดความรำคาญต่อคู่สมรส
รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นนอนบ่อยๆ คอแห้ง
ง่วงนอนตอนกลางวัน ฉุนเฉียวง่าย อารมณ์ไม่ดี
หายใจติดขัดตอนนอน
มีผู้อื่นสังเกตเห็นว่าหายใจไม่สม่ำเสมอ และกรนดังและหยุดเป็นช่วงๆ ระหว่างที่นอนหลับ
มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ
ส่วนในเด็กนั้น อาจมี โรคนอนกรน คล้ายผู้ใหญ่ได้ หรืออาจนอนกระสับกระส่าย หายใจติดขัด คัดจมูกจนต้องหายใจทางปากบ่อยๆ อาจมีปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ ซุกซนก้าวร้าว ผลการเรียนแย่ลง เติบโตช้ากว่าวัย เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคนอนกรนมีขั้นตอนอะไรบ้าง
หากมีอาการกรนเสียงดังเป็นประจำ หรือสันนิษฐานว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ หรือแพทย์โสต ศอ นาสิก ถ้าเป็นไปได้ควรมาพร้อมคู่สมรส หรือผู้ที่พบเห็นอาการ โดยมีขั้นตอนการวินิจฉัยดังนี้
ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรกรอกแบบสอบถามด้านการนอน (Medical and sleep history) และพูดคุยกับแพทย์เพื่อให้แพทย์ซักถามอาการเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้องและสำคัญ
รับการตรวจร่างกาย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักตัว ตรวจความดันโลหิตและตรวจวัดชีพจร วัดเส้นรอบวงคอ หรือขนาดลำตัว ขั้นตอนต่อมา แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมบริเวณ ศีรษะ ใบหน้า คอ จมูก และช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น\ดูลักษณะของทางเดินหายใจ รวมทั้งตรวจร่างกายในส่วนอื่นๆ เช่น หัวใจ ปอด และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในหลายกรณี แพทย์อาจส่องกล้อง (Endoscopy) เพื่อตรวจลำคอและจมูก ที่แผนกหู คอ จมูก และส่งไปทำ x-ray ศีรษะและลำคอเพิ่มเติม และอาจรวมถึง การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ตรวจเลือด หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอื่นๆ หากจำเป็น
นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ทำการตรวจการนอนหลับ หรือ sleep test ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นการตรวจ คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวัดลักษณะการหายใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณคาง และขา (EMG) คลื่นไฟฟ้าการเคลื่อนไหวของลูกตา(EOG) การวัดความเคลื่อนไหวของท้องและหน้าอก และการวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด (SpO2)
โดยการทดสอบการนอนหลับนี้ อาจทำในโรงพยาบาล หรือตรวจด้วยเครื่องตรวจแบบไร้สาย (mobile test) โดยอาจทำที่บ้านก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ตรวจรู้สึกสบาย และหลับได้เป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างไรก็ดี เนื่องจากการตรวจมีหลายวิธี และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงควรปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับว่า การตรวจแบบไหนที่เหมาะสมกับตัวท่านมากที่สุด
แล้วจะตรวจนอนกรนที่ไหนดีล่ะ?
มักเป็นคำถามที่พบอยู่บ่อยๆ อีกคำถามที่ตามมาด้วยเสมอคือ หลังจากตรวจแล้วควรรักษานอนกรนด้วยวิธีใด ซึ่งหลายๆ ท่านมักรู้สึกสับสน ทั้งอาจเนื่องจากมีข้อมูลให้เลือกมากเกิน หรือไม่ก็อาจไม่ทราบว่าจะไปหาข้อมูลได้ที่ไหน ในความเห็นส่วนตัวของผม การรักษานอนกรนนั้น แนะนำให้เริ่มด้วยการไปพบ กับแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ และควรตรวจการนอนหลับก่อนครับ ส่วนจะตรวจที่ไหนดี ผู้เขียนได้พยายามศึกษาหาข้อมูลมาให้ที่นี้แล้ว หวังว่าสถานที่ต่อไปนี้น่าจะเป็นที่เลือกให้สำหรับท่านครับ
1) โรงพยาบาลเอกชน (ข้าราชการไม่สามารถเบิกได้)
รพ.กรุงเทพ ซ.ศูนย์วิจัย ถ. เพชรบุรี โทร. 02-310-3010, 02-310-3000 ต่อแผนก หู คอ จมูก
- ทุกวันอาทิตย์ 10.00 - 13.00 น.
รพ. ธนบุรี
- ทุกวันศุกร์ 17.00-19.00 น.
รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โทร. 1474
- ทุกวันอังคาร 14.00 - 15.00 น.
รพ.ตา หู คอ จมูก แผนกหูคอจมูก โทร. 02-886-6600-16
พี.เอ็ช.ซี. สหคลินิก (PHC Clinic)
61/19 ถ.พระราม 9 ซอย 7 (อ.ส.ม.ท.) เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
Tel: 095-950-7956 หรือ 061-659-1788
รพ.เทพธารินทร์ คลินิคการนอนหลับ โทร. 0-2348-7000 ต่อ 3123, 3109
2) โรงพยาบาลรัฐบาล (ข้าราชการสามารถใช้สิทธิ์เบิกได้ทั้งค่าตรวจและเครื่อง CPAP)
ราคาค่าตรวจมักจะไม่แพงเท่าของเอกชน แต่คิวตรวจนานมาก ครับ ตัวอย่าง รพ. รัฐบาลที่มีบริการตรวจการนอนหลับและเครื่อง CPAP มีดังนี้
รพ.จุฬาลงกรณ์
คลินิกในเวลาราชการ (ท่านต้องมาด้วยตนเอง ไม่สามารถโทรนัดได้)
- วันจันทร์ - อังคาร (13.00-16.00) ศูนย์นิทราเวช ชั้น 5 อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- วันพุธ (13:00 - 15:00) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
คลินิกนอกเวลาราชการ (โทรนัดพบแพทย์ในคลินิกนอกเวลาได้ที่หมายเลข 02-256-5166, 02-256-5175)
- วันพุธ (16:30 - 19:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
- วันเสาร์ (8:30 - 11:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
รพ. รามาธิบดี
- ศูนย์โรคการนอนหลับโรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้น 7 ward 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3768
3) ตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test
การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) หรือการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ (Out-of-center Sleep Testing; OCST) หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า การตรวจการนอนหลับแบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable monitoring of sleep; PMs) นั้นอาจเรียกได้อีกอย่างว่า การตรวจการนอนหลับโดยไม่มีคนเฝ้า (unattended sleep study) หรือ ตามที่ทางสมาคมแพทย์โรคจากการหลับของสหรัฐอเมริกา (AASM) กำหนดว่าเป็นการตรวจ Level 2-4
ซึ่งปัจจุบัน หลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติให้ผู้ป่วยสามารถเบิกค่าตรวจด้วยวิธีนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีแนวโน้มการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่แบบนี้ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความประหยัดในต้นทุนงบประมาณและกำลังคน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ป่วยนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าถึงการตรวจได้มากขึ้น
การตรวจการนอนหลับที่บ้านนั้น ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
3.1) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 2 (Level II)
จัดเป็นการตรวจแบบครบชุด (Full Polysomnography) เนื่องจากสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ระหว่างการนอนได้ เครื่องมีขนาดเล็ก กระทัดรัด พกพาได้ สามารถทำกิจกรรม หรือเดินไปมาได้อิสระ เช่น ดูโทรทัศน์ โดยไม่ต้องถอดเครื่องมือออก โดยผลการบันทึกสัญญาณการนอนหลับของท่าน จะถูกอ่านและวิเคราะห์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนกรนโดยเฉพาะ (Sleep Doctor) การตรวจแบบนี้มีราคาถูกกว่าการตรวจในโรงพยาบาล อีกทั้งผู้ที่รับการตรวจก็มักจะนอนหลับได้สนิทกว่า เนื่องจากได้นอนในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ทำให้ผลการตรวจมีความแม่นยำใกล้เคียงกับการหลับกปกติมากที่สุด
การตรวจการนอนหลับ Level 2 นั้น จะมีการวัดสัญญาณการนอนหลับมากกว่า 7 สัญญาณชึ้นไป เหมือนกับการตรวจในศูนย์การนอนหลับทั่วไป โดยในช่วงหัวค่ำ จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับให้ที่บ้านท่าน และมาถอดเครื่องวัดเพื่อนำไปดาวน์โหลดข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน ถ้าผู้ป่วยที่ไม่พร้อมเคลื่อนย้าย การตรวจแบบนี้จะเหมาะมาก หรือ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมากแต่ไม่สามารถรับการตรวจในโรงพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จากภาวะ sleep apnea นี้ ระหว่างที่รอรับการตรวจ ซึ่งโรงพยาบาลมีบริการไม่เพียงพอ และคิวการตรวจยาวนาน
การตรวจวิธีนี้ มีข้อดีมากกว่าการตรวจในโรงพยาบาล คือ ผู้ป่วยจะได้นอนในห้องนอนของตนเอง จึงมีความรู้สึกผ่อนคลายและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีความเสี่ยงเรื่องการสูญเสียสัญญาณได้ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้า ซึ่งจริงๆ แล้ว อาจพบปัญหาเหล่านี้ไม่บ่อยนัก เนื่องด้วยเทคนิคการตรวจในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้นกว่าแต่ก่อน และนอกจานี้ มีแพทย์ด้านการนอนเป็นผู้อ่านและแปลผลการตรวจให้
3.2) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 3 Level 3
หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า Respiratory Polygraphy หรือ Cardiopulmonary Monitoring ได้ โดยเป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับ 4-7 ช่องสัญญาณ โดยจะเน้นที่ระบบหัวใจและการหายใจ กล่าวคือ จะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายคลึงกับการตรวจในโรงพยาบาล แต่จะไม่มีการตรวจ EEG, EOG, EMG จึงไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีระดับการนอนหลับอย่างไรบ้าง ข้อดีของการตรวจระดับ 3 นี้ ก็คล้ายกับการตรวจนอกสถานที่วิธีอื่นๆ คือ สะดวกรวดเร็ว ติดอุปกรณ์น้อยกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า จึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เป็นธรรมชาติมากกว่า
การตรวจวิธีนี้จะเหมาะกับการใช้เพื่อการวินิจฉัยในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมี sleep apnea โดยมีระดับความรุนแรงตั้งแต่ปานกลาง (mild) ถึงรุนแรง (severe) แต่ไม่สามารถรอคิวการตรวจในโรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ ยังอาจใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษา หลังการผ่าตัด หรือใช้เครื่องมือในช่องปากได้ ถึงแม้ว่า การตรวจแบบนี้ อาจมีผลคลาดเคลื่อนได้บ้าง เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ
ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แต่ตรวจด้วยวิธีนี้แล้วปกติ หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เช่น ภาวะหัวใจวาย, มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, หรือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และผู้ที่มีโรคการนอนหลับผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคขากระตุกขณะหลับ, หรือ อื่นๆ แพทย์อาจให้ตรวจแบบมาตรฐานระดับที่ 1 แทน นอกจากนี้ ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคนอนหลับโดยเฉพาะเป็นผู้วินิจฉัยผลให้
3.3) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 4 (Level 4)
เป็นการตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับ 1-3 สัญญาณ โดยส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วย การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ร่วมกับการวัดระดับการหายใจ อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ตรวจได้จะค่อนข้างน้อยกว่าแบบอื่น จึงมีข้อจำกัดมากกว่า และปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ยังมีการทดสอบแบบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ทุกวิธีการตรวจย่อมมีข้อดีและข้อจำกัด ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด ผู้ที่เข้ารับการตรวจควรนัดพบแพทย์ด้านการนอนหลับก่อน เพื่อพิจารณาว่า เหมาะสมกับการตรวจแบบไหนต่อไป
การอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากการที่เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจมีการหย่อนคล้อยลง เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อน คอ หรือในระบบทางเดินหายใจมีสารหล่อลื่นน้อยลง ทำให้เกิดอาการแห้ง และบวม ช่องคอจึงตีบตัน เมื่อมีอากาศไหลผ่านช่องทางเดินหายใจที่เกิดการตีบตัน ก็จะทำให้เกิด ปัญหานอนกรน (Snoring) ขึ้น
อาการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้นนี้ บางครั้งก็เกิดขึ้นไม่มาก หรือบางกรณีอาจเกิดขึ้นได้อย่างรุนแรงจนอุดตันลมหายใจของเราทั้งหมด ทำให้ไม่มีอากาศผ่านเข้าออกได้ในช่วงหนึ่ง ซึ่งเราเรียกลักษณะที่เกิดขึ้นว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) หรือที่นิยมเรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายได้อย่างมากมาย เช่น เป็นความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปรกติ หรือ อาจก่อให้เกิดความรำคาญอย่างมาก ต่อคู่ครอง เกิดเป็นปัญหาทางสังคม ซึ่งทำให้เสียบุคลิกภาพ
เรื่องที่สำคัญที่น่าพูดถึง คือถ้ามีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก อาจทำให้มีความผิดปรกติของพัฒนาการ ทั้งทางสมองและสุขภาพ เด็กอาจซุกซนมากผิดปกติหรือก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน ผลการเรียนลดลง หรือเด็กอาจมีปัญหาในการอยู่ร่วมในสังคมได้ อาการหยุดหายใจตอนหลับนี้ ประมาณการว่าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และเชื่อว่าพบได้มากกว่านี้ในผู้สูงอายุ ส่วนอาการนี้มักพบในเด็กประมาณร้อยละ 1
อะไรคืออาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
หากท่านมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการบ่งบอก ว่าท่านมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีก่อให้เกิดผลร้ายกับสุขภาพอย่างมาก
ไม่สดชื่นตอนตื่นนอนตอนเช้า
ตื่นนอนแล้วปวดศีรษะ
กรนเสียงดังอยู่เสมอ ก่อให้เกิดความรำคาญต่อคู่สมรส
รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นนอนบ่อยๆ คอแห้ง
ง่วงนอนตอนกลางวัน ฉุนเฉียวง่าย อารมณ์ไม่ดี
หายใจติดขัดตอนนอน
มีผู้อื่นสังเกตเห็นว่าหายใจไม่สม่ำเสมอ และกรนดังและหยุดเป็นช่วงๆ ระหว่างที่นอนหลับ
มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ
ส่วนในเด็กนั้น อาจมี โรคนอนกรน คล้ายผู้ใหญ่ได้ หรืออาจนอนกระสับกระส่าย หายใจติดขัด คัดจมูกจนต้องหายใจทางปากบ่อยๆ อาจมีปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ ซุกซนก้าวร้าว ผลการเรียนแย่ลง เติบโตช้ากว่าวัย เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคนอนกรนมีขั้นตอนอะไรบ้าง
หากมีอาการกรนเสียงดังเป็นประจำ หรือสันนิษฐานว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ หรือแพทย์โสต ศอ นาสิก ถ้าเป็นไปได้ควรมาพร้อมคู่สมรส หรือผู้ที่พบเห็นอาการ โดยมีขั้นตอนการวินิจฉัยดังนี้
ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรกรอกแบบสอบถามด้านการนอน (Medical and sleep history) และพูดคุยกับแพทย์เพื่อให้แพทย์ซักถามอาการเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้องและสำคัญ
รับการตรวจร่างกาย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักตัว ตรวจความดันโลหิตและตรวจวัดชีพจร วัดเส้นรอบวงคอ หรือขนาดลำตัว ขั้นตอนต่อมา แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมบริเวณ ศีรษะ ใบหน้า คอ จมูก และช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น\ดูลักษณะของทางเดินหายใจ รวมทั้งตรวจร่างกายในส่วนอื่นๆ เช่น หัวใจ ปอด และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในหลายกรณี แพทย์อาจส่องกล้อง (Endoscopy) เพื่อตรวจลำคอและจมูก ที่แผนกหู คอ จมูก และส่งไปทำ x-ray ศีรษะและลำคอเพิ่มเติม และอาจรวมถึง การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ตรวจเลือด หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอื่นๆ หากจำเป็น
นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ทำการตรวจการนอนหลับ หรือ sleep test ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นการตรวจ คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวัดลักษณะการหายใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณคาง และขา (EMG) คลื่นไฟฟ้าการเคลื่อนไหวของลูกตา(EOG) การวัดความเคลื่อนไหวของท้องและหน้าอก และการวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด (SpO2)
โดยการทดสอบการนอนหลับนี้ อาจทำในโรงพยาบาล หรือตรวจด้วยเครื่องตรวจแบบไร้สาย (mobile test) โดยอาจทำที่บ้านก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ตรวจรู้สึกสบาย และหลับได้เป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างไรก็ดี เนื่องจากการตรวจมีหลายวิธี และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงควรปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับว่า การตรวจแบบไหนที่เหมาะสมกับตัวท่านมากที่สุด
แล้วจะตรวจนอนกรนที่ไหนดีล่ะ?
มักเป็นคำถามที่พบอยู่บ่อยๆ อีกคำถามที่ตามมาด้วยเสมอคือ หลังจากตรวจแล้วควรรักษานอนกรนด้วยวิธีใด ซึ่งหลายๆ ท่านมักรู้สึกสับสน ทั้งอาจเนื่องจากมีข้อมูลให้เลือกมากเกิน หรือไม่ก็อาจไม่ทราบว่าจะไปหาข้อมูลได้ที่ไหน ในความเห็นส่วนตัวของผม การรักษานอนกรนนั้น แนะนำให้เริ่มด้วยการไปพบ กับแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ และควรตรวจการนอนหลับก่อนครับ ส่วนจะตรวจที่ไหนดี ผู้เขียนได้พยายามศึกษาหาข้อมูลมาให้ที่นี้แล้ว หวังว่าสถานที่ต่อไปนี้น่าจะเป็นที่เลือกให้สำหรับท่านครับ
1) โรงพยาบาลเอกชน (ข้าราชการไม่สามารถเบิกได้)
รพ.กรุงเทพ ซ.ศูนย์วิจัย ถ. เพชรบุรี โทร. 02-310-3010, 02-310-3000 ต่อแผนก หู คอ จมูก
- ทุกวันอาทิตย์ 10.00 - 13.00 น.
รพ. ธนบุรี
- ทุกวันศุกร์ 17.00-19.00 น.
รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โทร. 1474
- ทุกวันอังคาร 14.00 - 15.00 น.
รพ.ตา หู คอ จมูก แผนกหูคอจมูก โทร. 02-886-6600-16
พี.เอ็ช.ซี. สหคลินิก (PHC Clinic)
61/19 ถ.พระราม 9 ซอย 7 (อ.ส.ม.ท.) เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
Tel: 095-950-7956 หรือ 061-659-1788
รพ.เทพธารินทร์ คลินิคการนอนหลับ โทร. 0-2348-7000 ต่อ 3123, 3109
2) โรงพยาบาลรัฐบาล (ข้าราชการสามารถใช้สิทธิ์เบิกได้ทั้งค่าตรวจและเครื่อง CPAP)
ราคาค่าตรวจมักจะไม่แพงเท่าของเอกชน แต่คิวตรวจนานมาก ครับ ตัวอย่าง รพ. รัฐบาลที่มีบริการตรวจการนอนหลับและเครื่อง CPAP มีดังนี้
รพ.จุฬาลงกรณ์
คลินิกในเวลาราชการ (ท่านต้องมาด้วยตนเอง ไม่สามารถโทรนัดได้)
- วันจันทร์ - อังคาร (13.00-16.00) ศูนย์นิทราเวช ชั้น 5 อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- วันพุธ (13:00 - 15:00) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
คลินิกนอกเวลาราชการ (โทรนัดพบแพทย์ในคลินิกนอกเวลาได้ที่หมายเลข 02-256-5166, 02-256-5175)
- วันพุธ (16:30 - 19:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
- วันเสาร์ (8:30 - 11:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10
รพ. รามาธิบดี
- ศูนย์โรคการนอนหลับโรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้น 7 ward 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3768
3) ตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test
การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) หรือการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ (Out-of-center Sleep Testing; OCST) หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า การตรวจการนอนหลับแบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable monitoring of sleep; PMs) นั้นอาจเรียกได้อีกอย่างว่า การตรวจการนอนหลับโดยไม่มีคนเฝ้า (unattended sleep study) หรือ ตามที่ทางสมาคมแพทย์โรคจากการหลับของสหรัฐอเมริกา (AASM) กำหนดว่าเป็นการตรวจ Level 2-4
ซึ่งปัจจุบัน หลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติให้ผู้ป่วยสามารถเบิกค่าตรวจด้วยวิธีนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีแนวโน้มการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่แบบนี้ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความประหยัดในต้นทุนงบประมาณและกำลังคน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ป่วยนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าถึงการตรวจได้มากขึ้น
การตรวจการนอนหลับที่บ้านนั้น ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
3.1) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 2 (Level II)
จัดเป็นการตรวจแบบครบชุด (Full Polysomnography) เนื่องจากสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ระหว่างการนอนได้ เครื่องมีขนาดเล็ก กระทัดรัด พกพาได้ สามารถทำกิจกรรม หรือเดินไปมาได้อิสระ เช่น ดูโทรทัศน์ โดยไม่ต้องถอดเครื่องมือออก โดยผลการบันทึกสัญญาณการนอนหลับของท่าน จะถูกอ่านและวิเคราะห์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนกรนโดยเฉพาะ (Sleep Doctor) การตรวจแบบนี้มีราคาถูกกว่าการตรวจในโรงพยาบาล อีกทั้งผู้ที่รับการตรวจก็มักจะนอนหลับได้สนิทกว่า เนื่องจากได้นอนในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ทำให้ผลการตรวจมีความแม่นยำใกล้เคียงกับการหลับกปกติมากที่สุด
การตรวจการนอนหลับ Level 2 นั้น จะมีการวัดสัญญาณการนอนหลับมากกว่า 7 สัญญาณชึ้นไป เหมือนกับการตรวจในศูนย์การนอนหลับทั่วไป โดยในช่วงหัวค่ำ จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับให้ที่บ้านท่าน และมาถอดเครื่องวัดเพื่อนำไปดาวน์โหลดข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน ถ้าผู้ป่วยที่ไม่พร้อมเคลื่อนย้าย การตรวจแบบนี้จะเหมาะมาก หรือ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมากแต่ไม่สามารถรับการตรวจในโรงพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จากภาวะ sleep apnea นี้ ระหว่างที่รอรับการตรวจ ซึ่งโรงพยาบาลมีบริการไม่เพียงพอ และคิวการตรวจยาวนาน
การตรวจวิธีนี้ มีข้อดีมากกว่าการตรวจในโรงพยาบาล คือ ผู้ป่วยจะได้นอนในห้องนอนของตนเอง จึงมีความรู้สึกผ่อนคลายและมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีความเสี่ยงเรื่องการสูญเสียสัญญาณได้ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้า ซึ่งจริงๆ แล้ว อาจพบปัญหาเหล่านี้ไม่บ่อยนัก เนื่องด้วยเทคนิคการตรวจในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้นกว่าแต่ก่อน และนอกจานี้ มีแพทย์ด้านการนอนเป็นผู้อ่านและแปลผลการตรวจให้
3.2) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 3 Level 3
หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า Respiratory Polygraphy หรือ Cardiopulmonary Monitoring ได้ โดยเป็นการตรวจวัดข้อมูลการนอนหลับ 4-7 ช่องสัญญาณ โดยจะเน้นที่ระบบหัวใจและการหายใจ กล่าวคือ จะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายคลึงกับการตรวจในโรงพยาบาล แต่จะไม่มีการตรวจ EEG, EOG, EMG จึงไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีระดับการนอนหลับอย่างไรบ้าง ข้อดีของการตรวจระดับ 3 นี้ ก็คล้ายกับการตรวจนอกสถานที่วิธีอื่นๆ คือ สะดวกรวดเร็ว ติดอุปกรณ์น้อยกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า จึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เป็นธรรมชาติมากกว่า
การตรวจวิธีนี้จะเหมาะกับการใช้เพื่อการวินิจฉัยในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมี sleep apnea โดยมีระดับความรุนแรงตั้งแต่ปานกลาง (mild) ถึงรุนแรง (severe) แต่ไม่สามารถรอคิวการตรวจในโรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ ยังอาจใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษา หลังการผ่าตัด หรือใช้เครื่องมือในช่องปากได้ ถึงแม้ว่า การตรวจแบบนี้ อาจมีผลคลาดเคลื่อนได้บ้าง เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ
ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แต่ตรวจด้วยวิธีนี้แล้วปกติ หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย เช่น ภาวะหัวใจวาย, มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, หรือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และผู้ที่มีโรคการนอนหลับผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคขากระตุกขณะหลับ, หรือ อื่นๆ แพทย์อาจให้ตรวจแบบมาตรฐานระดับที่ 1 แทน นอกจากนี้ ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคนอนหลับโดยเฉพาะเป็นผู้วินิจฉัยผลให้
3.3) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 4 (Level 4)
เป็นการตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับ 1-3 สัญญาณ โดยส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วย การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ร่วมกับการวัดระดับการหายใจ อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ตรวจได้จะค่อนข้างน้อยกว่าแบบอื่น จึงมีข้อจำกัดมากกว่า และปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ยังมีการทดสอบแบบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ทุกวิธีการตรวจย่อมมีข้อดีและข้อจำกัด ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด ผู้ที่เข้ารับการตรวจควรนัดพบแพทย์ด้านการนอนหลับก่อน เพื่อพิจารณาว่า เหมาะสมกับการตรวจแบบไหนต่อไป
Sign up to rate and review this story